Tuesday, September 27, 2016

สถานะที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Terms related to business strategy)

2 สถานะที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Terms related to business strategy)

เงื่อนไขทั่วไปที่ใช้ในกลยุทธ์ทางธุรกิจมีรายละเอียดดังนี้

(1) ความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง (Competitive superiority)

"ความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง" เป็นสถานะทางด้านความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าของบริษัทเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

ในโลกแห่งธุรกิจยุคใหม่ความสามารถในการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง มากกว่าการมีกลยุทธ์ที่มากมายและแตกต่าง เพราะสามารถถูกลอกเลียนแบบโดยบริษัท อื่นได้โดยง่าย

เพื่อที่จะสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีกว่าคู่แข่งให้แก่ลูกค้า​​ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรต้องพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อการแข่งขันที่เหนือกว่า ด้วยการรวมปัจจัยหลายอย่างเข้าด้วยกัน นอกจากปัจจัยด้านราคาที่ต่ำกว่าแล้ว การออกแบบที่มีคุณภาพ ระบบการผลิตและแบรนด์หรือยี่ห้อ ก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ความสามารถในการแข่งขัน (Core competence)

"ความสามารถในการแข่งขัน" ในทางธุรกิจหมายถึง "ความสามารถในขอบเขตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถทางเทคโนโลยี เงินทุนที่เป็นปัจจัยหลักของบริษัท ซึ่​​งบริษัทคู่แข่งอื่นๆ ยังไม่สามารถเลียนแบบ" ทำให้บริษัทยังคงความสามารถในการแข่งขัน

เป็นความแข็งแกร่งของ บริษัท และยังรวมถึงการจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่าสำหรับองค์กรอย่างมีคุณภาพ ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์จากบริษัทคู่แข่ง ความสามารถในการแข่งขันเป็นกลยุทธ์และกุญแจสำคัญในการแข่งขันทางธุรกิจของบริษัท

เมื่อเกิดการผนวกการทำธุรกิจเข้ากับบริษัทอื่น ก็จะช่วยให้พันธมิตรมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นและสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างมาก

กลยุทธ์เฉพาะกลุ่ม (Niche strategy)

กลยุทธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความปลอดภัยและคงไว้ซึ่งผลกำไรจากตลาดที่เฉพาะเจาะจงหรือ "เฉพาะกลุ่ม" มากกว่าในตลาดหลักที่บริษัททำธุรกิจอยู่



(2) พึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction: CS)

"พึงพอใจของลูกค้า" หรือ "CS" คือระดับของความพึงพอใจของลูกค้าที่มีประสบการณ์หลังจากใช้สินค้าหรือบริการและได้รับความพึงพอใจที่เป็นไปตามความคาดหวัง

"การจัดการความพึงพอใจของลูกค้า" (CS management) เป็นเทคนิคการจัดการที่มุ่งเน้นความพึงพอใจของลูกค้า

การจัดการความพึงพอใจของลูกค้า ยึดหลักแนวความคิดการสร้างมูลค่าขององค์กรจากมุมมองของลูกค้าและให้ลูกค้ารู้สึกถึงความพึงพอใจ รวมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการขององค์กร

ในการจัดการความพึงพอใจของลูกค้า การจัดการความต้องการและความคิดเห็นของลูกค้าจะถูกเก็บรวบรวมเพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อให้ได้ผลลัพท์ของการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้สูงสุด

ข้อมูลทีได้จากการวิเคราะห์จะถูกนำไปใช้เพื่อขยายการให้บริการเหมาะสมตามที่ลูกค้าต้องการและลดงานบริการที่ไม่เหมาะสมให้มีขนาดลดลง

การจัดการความพึงพอใจของลูกค้ารจะเริ่มต้นเมื่อลูกค้าเลือกผลิตภัณฑ์ ซึ่งวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าขององค์กร โดยที่ลูกค้าจำนวนมากได้เลือกผลิตภัณฑ์ของบริษัท มากกว่าผลิตภัณฑ์คู่แข่ง และทำให้เกิดการซื้อซ้ำเมื่อจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนชิ้นใหม่

การส่งเสริมความตระหนักถึงความพึงพอใจของลูกค้าและการให้บริการสินค้าที่มีคุณภาพ แต่ยังหมายถึงการติดตามการให้บริการหลังการขายด้วย

No comments: