Tuesday, September 27, 2016

แผนผังกลยุทธ์และดัชนีชี้วัด (Strategy map and scorecard) CSF ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Critical Success Factor) วิศวกรรมเชิงคุณค่า (Value Engineering: VE)

แผนผังกลยุทธ์และดัชนีชี้วัด (Strategy map and scorecard)

เมื่อนำ BSC มาใช้กับธุรกิจ จะมีการสร้างแผนผังกลยุทธ์และดัชนีชี้วัด (Strategy map and scorecard)

"แผนผังกลยุทธ์" (strategy map) เป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสารที่ใช้กับ BSC เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทในบริบทที่เป็นแผนภาพ เพื่อช่วยในการนำไปใช้ในสถานที่ทำงานได้ง่ายขึ้น

บัตรคะแนน (Scorecard) ช่วยในการจัดการทางด้านดำเนินการเชิงกลยุทธ์และทำให้ PDCA สามารถนำมาใช้อย่างถูกต้อง



CSF ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Critical Success Factor)
CSF เป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการสร้างความแตกต่างจากบริษัทคู่แข่งและสร้างความเป็นเลิศในการแข่งขัน

การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (CSF analysis) เป็นเทคนิคเพื่อการกำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญที่สุดจากปัจจัยต่างๆ และนำมาใช้เพื่อเป็นรากฐานสำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ

เป้าหมายเชิงตัวเลขในรูปแบบคำถามเช่น "เท่าไหร่และเมื่อใด (How much and by when?) เรียกว่า "KGI"
นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมที่สำคัญเพื่อให้บรรลุ KGI เรียกว่า KPI เป็นตัวบ่งชี้ที่ได้มาจากผลของการวิเคราะห์ CSF กระบวนการขั้นตอนในการพิจารณาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป็นไปเพื่อประโยชน์ให้ได้มาซึ่ง CSF และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แท้จริง

ปัจจัยความแห่งสำเร็จที่สำคัญ (CSF: Critical Success Factor)

ตัวชี้วัดเป้าหมาย (KGI: Key Goal Indicator)

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI: Key Performance Indicator)



วิศวกรรมเชิงคุณค่า (Value Engineering: VE)

"วิศวกรรมเชิงคุณค่า” เป็นเทคนิคสำหรับการลดค่าใช้จ่ายโดยไม่สูญเสียคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อันเป็นเทคนิคในการวิเคราะห์หน้าที่ของผลิตภัณฑ์ในขอบเขตของการปรับปรุงวัตถุดิบและงานบริการ และการตรวจสอบกระบวนการในการพัฒนา

กล่าวคือวิศวกรรมเชิงคุณค่าเป็นเทคนิคที่มุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และงานบริการ ซึ่งไม่กระทบต่อคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ หรือไม่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลงอันเนื่องมาจากการลดคุณภาพวัตถุดิบ เป็นต้น

การใช้วิศวกรรมเชิงคุณค่า ไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่ยังช่วยก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนากระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และงานบริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

เพื่อการควบคุมกระบวนการวิเคราะห์ให้ครอบคลุมมุมมองที่หลากหลาย จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา

No comments: