Tuesday, September 27, 2016

พันธมิตร (Alliance) ในการประกอบธุรกิจ หรือพันธมิตรทางการค้า

พันธมิตร (Alliance) ในการประกอบธุรกิจ หรือพันธมิตรทางการค้า

"พันธมิตร" หมายถึงความร่วมมือหรือการร่วมทำธุรกิจระหว่าง บริษัทหลายบริษัท
รูปแบบของพันธมิตรทางธุรกิจมีรูปแบบที่แตกต่างมากมาย ที่รวมถึงบริษัทที่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางด้านทุนใดๆ ต่อกัน แต่มาร่วมกันทำธุรกิจเฉพาะในเขตที่ระบุและผู้ที่มีความสัมพันธ์ด้านทุนที่รวมกันในรูปแบบ "การควบรวมกิจการ (Mergers)" ในปัจจุบัน ความร่วมมือในการทำธุรกิจลักษณะนี้ เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในวงการธุรกิจ
วัตถุประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังการร่วมมือทางธุรกิจหรือพันธมิตรทางธุรกิจนี้ ก็เพื่อกำจัดหรือลดการแข่งขันที่ไม่จำเป็นขององค์กรรวมทั้งเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ อาทิเช่นค่าใช้จ่ายทางการวิจัยและพัฒนา ด้วยการแบ่งปันภาระงานระหว่างบริษัทพันธมิตร

พันธมิตรทางธุรกิจสามารถจัดตั้งในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

● M & A (การควบรวมกิจการ) (Mergers and Acquisitions: M&A)

"M & A" เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกองค์กร ที่ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน

"การควบรวมกิจการ M&A" คือการก่อตั้งบริษัทหนึ่งขึ้นจากหลายบริษัทเข้าด้วยกัน ในขณะที่ "การซื้อกิจการ" (Acquisition) คือการซื้อบริษัททั้งหมดหรือส่วนหนึ่งของบริษัทเพื่อรวมเข้ากับบริษัทตนเอง
นอกจากนี้รูปแบบของพันธมิตรทางธุรกิจยังรวมถึง "การควบรวมประเภทซึมซับ" (absorption-type mergers) ซึ่งเป็นการควบรวมกิจการที่บริษัทหนึ่งยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป ในขณะที่บริษัทอื่นๆ ที่ถูกควบรวมและดำเนินกิจการแบบเดียวกันต้องปิดตัวลง
นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของ M&A ยังรวมถึงการเข้าสู่อุตสาหกรรมหรือตลาดใหม่ การควบรวมทางธุรกิจ การปรับโครงสร้างองค์กร (reorganizations) การหลอมรวมธุรกิจเข้าด้วยกัน ฯลฯ

●การควบรวมกิจการผ่าน บริษัทผู้ถือหุ้น (Integration through a holding company)
"บริษัท โฮลดิ้ง" เป็น บริษัท ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในบริษัทต่างๆ เพื่อสามารถเข้าควบคุมกิจการบริษัทนั้นให้ดำเนินการตามนโยบายที่ต้องการ
ประโยชน์บางประการในการรวมบริษัทโดยการเข้าถือหุ้นผ่านบริษัทโฮลดิ้ง ก็เพื่อเข้าควบคุมนโยบายและววงยุทธศาสตร์ในนการบริหาร เพื่อสามารถสร้างผลกำไรสูงสุดให้แก่กลุ่มผู้ถือหุ้น และยังสามารถเร่งรัดกระบวนการตัดสินใจในการบริหาร

●การร่วมทุน (Capital Participation)
"การร่วมทุน" หมายถึงการเข้าร่วมงานกันโดยบริษัทใดๆ ด้วยการเข้าซื้อหุ้นเพื่อมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้น ทำให้มีอำนาจในการร่วมตัดสินใจ ทำให้บริษัทมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบริษัทที่เข้าร่วมถือหุ้น
การร่วมทุนส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นที่ถือโดยบริษัทอื่น แต่ไม่ได้อนุญาตให้ บริษัทผู้ร่วมถือหุ้นมีอำนาจในการตัดสินใจทางการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ

● การร่วมมือหรือ การไทร์อัพ (Tie – Up)
"การไทร์อัพ" หมายถึงความร่วมมือระหว่างองค์กรในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจร่วมกัน ปัจจุบันการไทร์อัพมีการขยายตัวเป็นอย่างมากจากผู้ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน เช่นการร่วมมือทางการขาย และการร่วมมือทางการผลิต (การผลิตแบบ OEM ฯ) ทำให้สามารถใช้เทคโนโลยีร่วมกันและการรีไซเคิลขยะร่วมกัน เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างการควบรวมกิจการ การซื้อกิจการและ การควบรวมกิจการผ่าน บริษัท ผู้ถือหุ้น

•การควบรวมกิจการ
บริษัท A + บริษัท B = บริษัท C

•การซื้อกิจการ
บริษัท A + บริษัท B = บริษัท A

•การควบรวมกิจการผ่านบริษัทผู้ถือหุ้น
บริษัท A + บริษัท B = บริษัท C (บริษัท A, บริษัท B)

No comments: