Wednesday, September 21, 2016

1 การกำหนดขอบเขตความต้องการหรือข้อกำหนดของการพัฒนาระบบ (Requirements definition)

1 การกำหนดขอบเขตความต้องการหรือข้อกำหนดของการพัฒนาระบบ (Requirements definition)

เป็นกระบวนการเพื่อการกำหนดขอบเขตความต้องการหรือข้อกำหนดเพื่อการพัฒนาระบบที่ชัดเจน โดยชี้แจงอธิบายการทำงานหรือฟังก์ชั่นต่างๆ (function) ประสิทธิภาพ (performance) และเนื้อหาที่ต้องการได้รับจากระบบ (content required of the system and software) รวมทั้ง “ขอบเขตความต้องการในการพัฒนาระบบ” (system requirements definition) และ “ขอบเขตความต้องการซอฟต์แวร์” (software requirement definition) ความต้องการของผู้ใช้ (แผนกของผู้ใช้ระบบ system user department) ที่ได้ทำการสำรวจ หรือถูกวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ทางด้านเทคโนโลยี และจำเป็นต้องมีการกำหนดรายละเอียดเพื่อให้สามารถบรรลุความต้องการหรือข้อกำหนดเหล่านั้น

กระบวนการกำหนดขอบเขตความต้องการ เพื่อการพัฒนาระบบเป็นกระบวนการเริ่มต้นในการพัฒนาระบบซึ่งนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวที่จะตามมาในการพัฒนาระบบ เพื่อที่จะสามารถพัฒนาระบบที่ดีตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ความต้องการในการพัฒนาระบบต้องได้รับการกำหนดขอบเขตร่วมกันจากแผนกต่างๆ หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในการใช้งานระบบ

●การกำหนดขอบเขตข้อกำหนดของระบบ (System requirements definition)

ในกระบวนการกำหนดขอบเขตความต้องการหรือข้อกำหนดเพื่อการพัฒนาระบบ เป็นการกำหนดความต้องการฟังก์ชั่นประเภทต่างๆ เพื่อการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยทั่วไปปัจจัยที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของระบบ เช่น เงื่อนไขในการทำงาน (operating conditions) ประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัย (security performance) และการใช้งานฮาร์ดแวร์ ตามที่ได้กำหนดไว้ ด้วยปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดลำดับความสำคัญของแต่ละปัจจัย เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของการพัฒนาระบบ ในขอบเขตของงบประมาณที่จำกัด และอธิบายรายละเอียดของเนื้อหาถึงรายละเอียดความต้องการในการพัฒนาระบบ ให้อยู่ในขอบเขตค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้

●การกำหนดขอบเขตข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ (Software requirements definition)

ในการกำหนดขอบเขตความต้องการของซอฟต์แวร์ เนื้อหาของซอฟต์แวร์ที่ต้องการจากการพัฒนาต้องได้รับการกำหนดบนพื้นฐานของการดำเนินการทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง โดยทั่วไป ต้องมีการกำหนดในรายละเอียดต่างๆ อาทิเช่น ส่วนอินเตอร์เฟสของระบบ การทำงาน ฟังก์ชั่นหรือความสามารถในการทำงานทางธุรกิจของระบบ การดำเนินงานและการบำรุงรักษาที่เหมาะสม ในกระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้ (แผนกของผู้ใช้ระบบ) และรวบรวมความคิดเห็นให้มากที่สุด เพื่อนำมาพิจารณา วิเคราะห์ให้ได้มาซึ่งความต้องการในการใช้งานระบบที่แท้จริง และเพื่อสามารถกำหนดฟังก์ชั่นการทำงานของระบบทางธุรกิจที่ถูกต้องตรงกับความต้องการเหล่านั้น

No comments: