Thursday, May 5, 2016

การประมวลผลกลุ่มเมฆ หรือคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

การประมวลผลกลุ่มเมฆ หรือคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
ด้วยการประมวลผลแบบคลาวด์ทำให้องค์กรไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ ระบบคอมพิวเตอร์ของตนเอง ทำให้ไม่ต้องบริหารจัดการ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ อีกด้วย
ด้วยปัจจุบันบริการการประมวลผลแบบคลาวด์ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการประมวลผล ที่ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในการประมวลผล แอพพลิเคชั่น โปรเซสทางธุรกิจเพื่อการทำงานร่วมกัน สามารถส่งมอบถึงผู้ใช้ได้ในรูปแบบการบริการผ่านอินเตอร์เน็ต ไปยังทุกหนทุกแห่งตามต้องการ
คำว่ากลุ่มเมฆ หรือคลาวด์ ในการประมวลผลแบบคลาวด์นั้น หมายถึง การผสมผสาน กลุ่มของฮาร์ดแวร์ เครือข่าย หน่วยจัดเก็บข้อมูล การบริการ และ อินเตอร์เฟส และส่งมอบการผสมผสานสิ่งเหล่านี้ ไปยังผู้ใช้ในรูปแบบการบริการการประมวลผล (computing as a service: CaaS)
การบริการแบบคลาวด์ประกอบด้วย การส่งมอบซอฟต์แวร์ โครงสร้างหรือปัจจัยพื้นฐาน และส่วนจัดเก็บข้อมูล ผ่านอินเตอร์เน็ต (ทั้งแยกส่วนและแบบผสมผสานรวมกันเป็นแพลทฟอร์ม) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้
การประมวลผลแบบคลาวด์สามารถติดตั้งใช้งาน ในสามรูปแบบ คลาวด์ส่วนบุคคล (private cloud),คลาวด์สาธารณะ (public cloud), และ ไฮบริดคลาวด์ (hybrid clouds)
โดยคลาวด์สาธารณะ จะให้บริการแบบ "as a service" บนอินเตอร์เน็ต ด้วยการควบคุมเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีการควบคุมเลย ภายใต้เทคโนโลยีสนับสนุนขั้นพื้นฐาน
ส่วนคลาวด์แบบส่วนบุคคล จะรองรับกิจกรรมและหน้าที่ หรือฟังก์ชั่น แบบ "as a service" เช่นเดียวกัน แต่จะติดตั้งในอินทราเน็ตขององค์กร หรือบนศูนย์ข้อมูล (data center)
ในขณะที่ไฮบริดจ์คลาวด์ จะผสมผสานประสิทธิภาพทั้งของคลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนบุคคลเข้าด้วยกัน
ในสถาณการณ์จำลอง กิจกรรมและงานต่างๆ จะถูกดำเนินการแบบสาธารณะหรือส่วนบุคคลได้ตามต้องการ
ในขณะนี้ ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการพัฒนา โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความสะดวกต่างๆ ด้วยรูปแบบของการประมวลผลแบบคลาวด์
เบื้องต้น เมื่อนำระบบคลาวด์มาใช้ ทรัพยากรจะถูกจัดสรรค์แบบไดนามิก เพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้
ด้วยความสามารถที่ยืดหยุ่นเช่นนี้ ทำให้การใช้งานคลาวด์สามารถขยายหรือลด แปรผันตามจุดสูงสุดของการใช้งานในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แอพพลิเคชั่นในคลาวด์สามารถขยายตามจำนวนผู้ใช้ และการใช้งาน เมื่อความต้องการใช้งานเปลี่ยนแปลง
ถัดไปคือ ลูกค้าของคลาวด์สามารถใช้ทรัพยากรบนคลาวด์ได้ตามนิยม
ผู้ให้บริการคลาวด์ทำหน้าที่จัดสรรการบริการตามความต้องการ ทั้งการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์ โปรเซส รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ
หลังจากการใช้ทรัพยากรต่างๆ แล้ว ก็จะคืนทรัพยากรเหล่านั้นให้แก่ระบบเมื่อไม่ต้องการใช้งานต่อไป
ประการที่สาม โดยปกติการบริการแบบคลาวด์ เป็นไปตามมาตรฐาน APIs (Application Program Interfaces)
นั่นหมายความว่า การบริการต่างๆ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ โปรแกรมหรือแหล่งข้อมูลต้องสามารถสื่อสารกับระบบ โปรแกรม อื่นๆ ได้นั่นเอง
ด้วยความสามารถเหล่านี้ ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสะบาย สามารถเชื่อมต่อบริการคลาวด์ต่างๆ เข้าด้วยกัน
และประการสุดท้าย ด้วยรูปแบบการประมวลผลแบบคลาวด์ ทำให้ลูกค้า มีค่าใช้จ่ายเฉพาะเท่าที่ตนเองใช้เท่านั้น ลดความสูญเปล่าการใช้งานทรัพยากรได้เป็นอย่างดี
การใช้งานคลาวด์ลูกค้าจึงชำระการใช้งานทรัพยากรที่ใช้ เหมือนการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนคือใช้เท่าไร จ่ายเท่านั้น ซึ่งยุติธรรมต่อผู้บริโภค
ด้วยความสามารถนี้ทำให้คลาวด์เป็นประโยชน์อย่างมากในการบริหารจัดการทางด้านการเงิน
ผู้ให้บริการคลาวด์ได้นำการจำลองเสมือนจริง (Virtualization) มาใช้เป็นเทคโนโลยีหลัก
โดยในมุมมองของลูกค้า หมายถึง ความพยายามที่จะเอ้าท์ซอสต์ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แอพพลิเคชั่น และทักษะ ในรูปแบบจ่ายตามที่ใช้ (pay per use)
ด้วยแนวคิดของการประมวลผลแบบคลาวด์ จึงเป็นความฝันขององค์กรทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และใหญ่
และด้วยรูปแบบเช่นนี้ พลังของระบบเสมือนจริง จึงได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และมูลค่าทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประโยชน์ของคลาวด์จะมีมากมาย (ยืดหยุ่น ลดต้นทุน ความเป็นอิสระทางด้านอุปกรณ์ ประสิทธิภาพ และอื่นๆ ) แต่มันก็ยังต้องได้รับการสนับสนุน และองค์กรยังคงต้องเรียนรู้ที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
ดังเช่น อะมาซอน บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอีคอมเมอร์ซ ได้เพิ่มบทบาทในการให้บริการคลาวด์ เกิดความผิดพลาดขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อวงการธุรกิจ ที่นำคลาวด์ของอะมาซอนมาใช้งาน
ด้วยเหตุนี้องค์กรธุรกิจ จึงต้องให้ความสำคัญกับการใช้คลาวด์เป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำธุรกิจ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือผิดพลาดน้อยที่สุด


No comments: